เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์เรืองแสง
เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์เรืองแสง

จะเห็นว่าถึงแม้จะระบุว่าเรืองแสงได้ 8 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ระดับความสว่างของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่น่าเชื่อถือกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานนั้นต่างกันมาก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัสดุเรืองแสง

ผลิตภัณฑ์เรืองแสงในที่มืดโดยทั่วไปมีหลากหลายชนิด และหลากหลายความสว่าง วัสดุที่เรืองแสงได้แบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

  1. วัสดุที่เรืองแสงด้วยปฏิกิริยาเคมี เช่น แท่งเรืองแสง ซึ่งจะใช้งานได้โดยหักแท่งเรืองแสงหรือตีให้เคมี 2 ชนิดผสมกัน แล้วเกิดการเรืองแสงจากปฏิกิริยาเคมีนั้น ซึ่งเมื่อปฏิกิริยาเคมีจบลงการเรืองแสงก็จะสิ้นสุดลงด้วย และไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้
  2. วัสดุที่เรืองแสงด้วยตัวสสารนั้นเอง การเรืองแสงจะทำได้ด้วยการเก็บพลังงานจากแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ แล้วเมื่อวัสดุอยู่ในที่มืดจึงคายพลังงานที่กักเก็บไว้ออกมาในรูปแบบของการเรืองแสง วัสดุเรืองแสงจำพวกนี้จะสามารถนำมาใช้ซ้ำได้จนกว่า ตัววัสดุนั้นจะเสื่อมสลายไป ซึ่งปกติจะใช้เวลานานนับ 10 ปี

วัสดุเรืองแสงที่เรืองแสงได้ด้วยตัวเองมีหลายชนิด เช่น วัสดุกลุ่ม Strontium Aluminate เป็นวัสดุที่มีคุณภาพการเรืองแสงที่ดี นิยมนำมาใช้ในงานด้านความปลอดภัยซึ่งต้องการความสว่างในการเรืองแสงสูงและยาวนาน และยังมีวัสดุกลุ่ม Zinc Sulfide เป็นวัสดุเรืองแสงคุณภาพรองจากกลุ่ม Strontium Aluminate นิยมนำมาใช้อุปกรณ์ตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ หรือของเล่น เนื่องจากมีราคาถูกกว่าวัสดุเรืองแสงกลุ่มแรก แต่คุณภาพการเรืองแสงก็ต่ำกว่าแบบ Strontium Aluminate มากเช่นกัน

ทั้งนี้ในวัสดุเรืองแสงกลุ่มเดียวกัน คุณภาพการเรืองแสงก็ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีของแต่ละผู้ผลิตที่นำแร่เรืองแสงมาปรับปรุงคุณภาพก่อนนำมาผลิตเป็นผงเรืองแสง นอกจากนี้ความสว่างก็ขึ้นอยู่กับขนาดของผงเรืองแสง รูปร่างของผงเรืองแสง และปริมาณผงเรืองแสงที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์เรืองแสงที่ดีควรมีคุณภาพการเรืองแสงผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริงและเรืองแสงได้สว่างเพียงพอในยามคับขัน

จำนวนชั่วโมงของการเรืองแสง ขึ้นอยู่กับมาตรฐานและวิธีการวัด บางผลิตภัณฑ์อาจบอกจำนวนชั่วโมงเท่ากันแต่ก็ให้ผลการเรืองแสงที่ต่างกันมาก เนื่องจากมาตรฐานในการวัดและทดสอบที่แตกต่างกันนั่นเอง ผู้ใช้งานควรสังเกตให้ดีว่าจำนวนชั่วโมงที่ระบุไว้นั้นทดสอบตามมาตรฐานใด มาตรฐานระดับโลกที่น่าเชื่อถือได้แก่ DIN-67510 Class C ขึ้นไป, ISO-17398 Class C ขึ้นไป, หรือ JIS Z 9107 เป็นต้น

สารเรืองแสงคืออะไร?

สารเรืองแสง (Glow-in-the-dark หรือ Photoluminescent) เป็นสารที่เก็บแสงในที่สว่างและเปล่งแสงออกมาในที่มืดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ทำให้การใช้งานสารเรืองแสงมีข้อดีดังนี้

  • การใช้สารเรืองแสงไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า ทำให้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • เนื่องจากสารเรืองแสงไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า การติดตั้งผลิตภัณฑ์สารเรืองแสงจึงทำได้ง่ายสะดวก
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายระหว่างใช้งาน มีเพียงค่าใช้จ่ายตอนติดตั้งครั้งแรกเท่านั้น
  • ลดค่าซ่อมบำรุงต่างๆ เช่น ค่าซอมแซมหลอดไฟ หรือค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เป็นต้น

 

การเรืองแสงต่างกับการสะท้อนแสงอย่างไร?

การเรืองแสง

สะสมพลังงานจากแสงสว่างและเรืองแสงในที่มืดได้ด้วยตนเอง แสงที่ออกมาจะลดลงไปตามเวลาที่ผ่านไป


การวาวแสง

ตอบสนองต่อแสงที่มากระตุ้น ทำให้เห็นได้ในที่มืด (จำเป็นต้องมีแสงให้จึงเรืองแสง) ไม่เรืองแสงหากไม่มีแสง

การสะท้อนแสง

สะท้อนแสงที่ส่องมากระทบ ทำให้เห็นได้ในที่มืด (จำเป็นต้องมีแสงให้จึงมองเห็น) ไม่เรืองแสงในที่มืด

 

สารเรืองแสงทนทานแค่ไหน?

สารเรืองแสงของ LumiGLOW® ผลิตขึ้นจากวัสดุชื่อ Strontium Aluminate เป็นสารกึ่งถาวรไม่มีการชำรุดเสียหาย สามารถทนต่อแสง UV ได้ เมื่อทำการทดสอบ Sunshine Weather Meter เป็นเวลา 2,000 ชั่วโมง (เทียบเท่า 10 ปี) ก็ไม่พบการชำรุดเสียหายใดๆ

 

สารเรืองแสงใช้กับแสงแบบไหนได้บ้าง?

สารเรืองแสงของ LumiGLOW® เป็น Strontium Aluminate มีสมบัติในการเก็บแสงที่มีความยาวคลื่นในช่วง 200-480nm ซึ่งช่วงความยาวคลื่นแสงดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่แสง UV แสงจากหลอด LED ไปจนถึงแสงจากหลอดฟลูออเรสเซ้นท์ หรือหลอดไส้ก็ใข้ได้ เนื่องจากสามารถรับแสงได้หลากหลายประเภท จึงเหมาะกับการใช้งานได้หลากหลายพื้นที่

 

เรืองแสงได้กี่ชั่วโมง?

การเรืองแสงจะมองเห็นได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับแสงที่เปล่งออกมาว่ามีระดับความสว่างเท่าใด ซึ่งใช้หน่วยวัดระดับความสว่างเป็นมิลลิแคนเดลาต่อตารางเมตร (mcd/m2) ได้มีการทดสอบการสังเกตเห็นได้ในที่มืดสำหรับแต่ละระดับความสว่างซึ่งแสดงให้เห็นได้ดังตารางด้านล่างนี้ (ทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 10 คน)

ระดับความสว่าง (mcd/m2)

ความสว่างที่รู้สึกได้ในที่มืด

สังเกตเห็นได้

มองไม่เห็น

200 ขึ้นไป

ความสว่างระดับที่สามารถอ่านตัวหนังสือได้

-

-

5 ขึ้นไป

ความสว่างระดับที่สามารถอ่านตัวหนังสือได้บ้าง

10 คน

0 คน

ไม่เกิน 3

ความสว่างระดับที่สังเกตเห็นจุดเรืองแสงได้

10 คน

0 คน

ไม่เกิน 2

ความสว่างระดับที่สังเกตเห็นจุดเรืองแสงได้บ้าง

10 คน

0 คน

ไม่เกิน 1

ความสว่างระดับที่แทบมองไม่เห็น

3 คน

7 คน

0.3

ระดับความสว่างต่ำที่สุดที่สายตามนุษย์สามารถสังเกตได้ในเชิงกายภาพ

-

-

จากตารางแสดงระดับความสว่างข้างต้น ผลิตภัณฑ์เรืองแสงของ LumiGLOW® จึงนับจำนวนชั่วโมงการเรืองแสงในระดับที่ความสว่างของการเรืองแสงไม่ต่ำกว่า 3 mcd/m2 ผลการทดสอบการเรืองแสงวัดค่าด้วยวิธีการตามมาตรฐานโลก อาทิ DIN67510, JIS Z 9107, ISO17398 เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์เรืองแสงของ LumiGLOW® แบ่งระดับความสว่างของผลิตภัณฑ์เป็น 3 ระดับ ได้แก่ Standard glow, High glow และ Super glow โดยหลังจากรับแสงเต็มที่แล้ว สามารถเรืองแสงได้ในระดับที่มองเห็นจริงดังต่อไปนี้

  • ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง สำหรับผลิตภัณฑ์ระดับ Standard glow
  • ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง สำหรับผลิตภัณฑ์ระดับ High glow และ Super glow

 

ติดตั้งผลิตภัณฑ์เรืองแสงอย่างไร?

ผลิตภัณฑ์เรืองแสงสามารถเก็บแสงและเรืองแสงได้เองในที่มืดจึงเหมาะแก่การใช้งานในจุดที่ต้องการให้เป็นที่สังเกตยามไม่มีแสงสว่าง การติดตั้งทำได้ง่าย โดยจำแนกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น
  • ผงเรืองแสง - ผสมกับพลาสติก หรือเรซิ่นเพื่อขึ้นรูป หรือผสมสีทาพื้นผิว
  • เทปและสติ๊กเกอร์เรืองแสง - เป็นลักษณะเทปกาว ลอกแล้วแปะติดพื้นผิวได้ทันที
  • ป้ายเรืองแสง - ทำเป็นป้ายบอกสัญลักษณ์ต่างๆ เวลาที่ขาดแสงสว่างได้
  • หมุดเรืองแสง - จุดสังเกตที่มีความสว่างสูง ติดโดยใช้กาวซิลิโคนและฝังสกรู

 

วัสดุเรืองแสง LumiGLOW® ผ่านการทดสอบความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และอื่นๆ

วัสดุเรืองแสง LumiGLOW® ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลที่เข้มงวดหลากหลายประเภท อาทิเช่น

  • ทดสอบการกันน้ำ (Water resistance): นำวัสดุเรืองแสง (Super glow sheet) ไปแช่น้ำไว้ 1 เดือน พบว่าก่อนแช่น้ำกับหลังแช่น้ำมีสมบัติการเรืองแสงใกล้เคียงเดิม
  • ทดสอบความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ (Weatherability Test): นำวัสดุเรืองแสงไป ทดสอบ Cycle Test ตามมาตรฐาน JIS A 1415 โดยเริ่มจากการพ่นละอองน้ำ 18 นาที จากนั้นนำหลอดไฟ Xenon arc lamp มาฉายแสง UV ความเข้ม 180W ต่อตารางเมตร นาน 102 นาที ภายใต้อุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียส และความชื้น 50% ทำซ้ำไปเรื่อยๆ ถึง 1,000 ชั่วโมง (เทียบเท่าใช้งานภายนอก 5 ปี) พบว่าสมบัติการเรืองแสงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • ทดสอบแรงยึดของวัสดุ (Adhesive Test): ทดสอบแรงยึดของวัสดุตามมาตรฐาน JIS Z 0237 ทั้งเงื่อนไขภายในและภายนอกอาคาร
  • ทดสอบการลามไฟ (Flamability Test): ทดสอบการลามไฟตามมาตรฐาน ASTM E 162-95
  • ทดสอบการเกิดควัน (Smoke Intensity Test): ทดสอบเกิดควันตามมาตรฐาน ASTM E 662
  • ทดสอบการก่อก๊าซพิษ (Toxic Gas Generation Test): ทดสอบเกิดก่อก๊าซพิษตามมาตรฐาน SMP-800C
  • ทดสอบการเรืองแสง (Luminance Test): ทดสอบสมบัติการเรืองแสงตามมาตรฐาน JIS Z 9107, DIN 67510, ISO 17398
  • ทดสอบการเรืองแสงภายนอก (Luminance Test - Outdoor): ทดสอบสมบัติการเรืองแสงตามมาตรฐาน JIS Z 9098, ISO 22578
  • ทดสอบสารอันตราย (Harzardous substances): ทดสอบว่าไม่มีสารอันตรายตามมาตรฐาน RoHS 2.0 ซึ่งใช้กันแพร่หลายในอเมริกา ยุโรป และทั่วโลก เพื่อแสดงว่าวัสดุเรืองแสง LumiGLOW® และ Nexit® มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม (Green material)
เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์เรืองแสงสำหรับงานโครงการ

หากคุณกำลังมองหาผลิตภัณฑ์เรืองแสงสำหรับโครงการของคุณ
กรุณากดปุ่มด้านล่างนี้เพื่อติดต่อกับบริษัทโดยตรง

ลูกค้าองค์กรลูกค้าทั่วไป